ปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปบนโลกนี้มีมากมายและทุกเครื่องก็สามารถที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วย
และถ้าระบบเครือข่ายไม่มี IP Address แล้วละก็ เราจะไม่สามารถที่จะรู้ได้เลยว่าข้อมูลนี้ส่งมาจากเครื่องไหน
และเล่นอยู่ที่ไหน ซึ่งในหลักความเป็นจริงแล้ว ถ้าIP Address ซ้ำกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นก็จะมีปัญหา
เปรียบได้กับเลขที่บ้านซ้ำกัน เมื่อไปรณีย์จ่ายจดหมายก็จะไม่สามารถจ่ายได้ถูกบ้าน
ซึ่งนี่เองเป็นเหตุผลที่จะต้องมี IP Address ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
IP Address คืออะไร
IP Address คือ หมายเลขที่สามารถระบุแยกแยะความแตกต่างของเครื่องคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน
หรือจะเป็นการเชื่อมต่อนอกเครือข่ายก็ได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า
IP Address เปรียบได้ดังเลขที่บ้านในการตั้ง IP Address
จะตั้งไม่ให้ซ้ำกันอย่างเด็ดขาด
เพราะถ้าซ้ำกันจะทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อสื่อสารภายในเครือข่าย
ซึ่งนี่เองเลยมีหน่วยงานที่ออกมากำหนดเรื่องของการตั้งค่า IP Address ขึ้นมา
หน่วยงานนี้ คือ
องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรร IP Address
ทั่วโลก และให้หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR)
ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ IP Address สำหรับ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องอีกทีหนึ่ง
โดยที่เลข IP
Address ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ IPv4 และ IPv6 ซึ่ง IP Address IPv4
นี้ถือกำเนิดมาก่อนเป็นแบบ ตัวเลข 32 บิต ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้งานอยู่แต่เนื่องจากการใช้งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันในเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ต้องมีการคิดค้นเลข
IP Address ขึ้นมารองรับ นั้นก็คือ IPv6 ใช้ตัวเลข 128 บิต พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995
และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น